กองสวัสดิการ
บทบาทหน้าที่ กองสวัสดิการสังคม
กองสวัสดิการสังคม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสังเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิการเด็กและเยาวชน การพัฒนาชุมชน การจัดระเบียบชุมชนหนาแน่น และชุมชนแออัด การจัดให้มีการสนับสนุนกิจกรรมศูนย์เยาวชน การส่งเสริมงานประเพณีท้องถิ่นและงานสาธารณะ การให้คำปรึกษาแนะนำหรือตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคมและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีหัวหน้ากองสวัสดิการสังคมเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพนักงานเทสบาล ลูกจ้างประจำและพนักงานจ้าง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสวัสดิการสังคมโดยกำำหนดส่วนราชการกองสวัสดิการสังคมประกอบด้วยงานธุรการและงานพัฒนาชุมชน
การขึ้นทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และพิการ
ผู้ที่มีคุณสมบัติได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ดังต่อไป
๑. มีสัญญาติไทย มีอายุ ๕๙ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. นับตามปีที่อายุครบ ๕๙ ปีบริบูรณ์ (ในกรณีที่ในทะเบียนราษฏไม่ปรากฏไม่ปรากฏวันที่ และเดือนเกิด ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดในวันที่ ๑ มกราคมของปีนั้น)
๒. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๘ ผู้สูงอายุที่อยู่สถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จัดให้เป็นประจำ
ขั้นตอนการยื่นขอและวิธีการพิจารณาคุณสมบัติมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ให้ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเอง ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ในวัน เวลา และสถานที่ที่เทศบาลฯ กำหนด พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
๑. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
๒. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา
๓. สมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย พร้อมสำเนา
ในกรณีที่ผู้สูงอายุความจำเป็นไม่สามารถมาลงทะเบียนได้ อาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนโดยแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
๑. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบ
๒. สำเนาทะเบียนของผู้รับมอบ จำนวน ๑ ฉบับ
๓. หนังสือมอบอำนาจของผู้สูงอายุ จำนวน ๑ ฉบับ
คุณสมบัติของผู้พิการ ที่มิทธิขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพ (รายใหม่ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน)
คนพิการซึ่งจะมีสิทธิรับเงินเบี้ยความพิการ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
๑. มีสัญญาติไทย
๒. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
๓. มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ
๔. ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ
ขั้นตอนการยื่นคำขอและวิธีการพิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ
ให้คนพิการที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการด้วยตนเองได้ที่ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ ในวัน เวลา และสถานที่ ที่เทศบาลฯ กำหนด พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
๑. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
๒. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา
๓. สมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย พร้อมสำเนา
ในคนพิการที่มีความจำเป็นไม่สามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง อาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพความพอการแทน โดยแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
๑. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบ จำนวน ๑ ฉบับ
๒. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบ จำนวน ๑ ฉบับ
๓. หนังสือมอบอำนาจของผู้พิการ จำนวน ๑ ฉบับ