Thai English
1
2
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
0310247
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3403
145
4311
1377
11030
8276
310247

Forecast Today
192

17.13%
22.60%
5.21%
0.40%
0.00%
54.65%
Online (15 minutes ago):2
2 guests
no members

Your IP:54.166.170.195

สำนักปลัด

 บทบาทหน้าที่ สำนักปลัดเทศบาล

    สำนักปลัด ถือว่าการให้บริการประชาชนด้วยหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความมั่นใจ ให้บริการอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง คือหน้าที่อันสำคัญยิ่ง

   แม่บ้าน คำจำกัดความง่ายๆ สั้นๆ ของสำนักปลัดเทศบาลตำบลตะขบ ด้วยเหตุว่าสำนักปลัดฯ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานราชการทั่วไปของเทศบาลฯ จะมีแยกออกเป็นหลายๆ หน่วยงาน อาทิ งานธุรการ อันเกี่ยวเนื่องกับงานสารบรรณของเทสบาลฯ การดูแลรักษา จัดเตรียมสถานที่ หรืออุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน งานการเจ้าหน้าที่ งานทะเบียนราษฏร แจ้งเกิด แจ้งตาย ย้ายที่อยู่ งานประชาสัมพันธ์ งานนิติการที่จะต้องดูแลข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทศบาลฯ งานวิเคราะห์นโยบาย งานการเจ้าหน้าที่ รวมถึงงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งถือเป็นงานหลักสำคัญเพื่อให้ประชาชน ได้รับความสะดวดสบาย รวมถึงมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 งานทะเบียนราษฎร

 แจ้งเกิด 

    ต้องแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิด ภายใน ๑๕ วัน นับตั้งแต่วันเกิด คนเกิดในบ้านปฏิบัติดังนี้

   ๑. เจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา เป็นผู้แจ้ง

   ๒. สำเนาเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

   ๓. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งเกิด

   ๔. บัตรประจำตัวประชาชน บิดา มารดา

   ๕. หนังสือรับรองการเกิด(ถ้ามี)

 คนเกิดนอกบ้านปฏิบัติดังนี้

   ๑. บิดา หรือมารดา เป็นผู้แจ้งเกิด

   ๒. สำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้าน พร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา

   ๓. หนังสือรับรองการเกิด(ถ้ามี)

   ผู้ใดพบเห็นเด็กในสภาพแรกเกิด เด็กอ่อนถูกทอดทิ้งให้นำเด็กไปส่ง และแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่ตนพบเห็นเด็กนั้นโดยเร็ว

 แจ้งตาย

    ต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตาย ภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพคนตายในบ้านปฏิบัติดังนี้

    ๑. เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งการตาย

    ๒. ผู้พบศพ เป็นผู้แจ้งการตาย (กรณีไม่ปรากฏเจ้าบ้าน)

    ๓. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งตาย

    ๔. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ที่ผู้ตายมีชื่อและรายการบุคคล

    ๕. บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือสำคัผญประจำตัวของต่างด้าวของผู้ตาย(ถ้ามี)

    ๖. การตายโดยธรรมชาติ ต้องมีหนังสือแจ้งจากพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจผู้เป็นพนักงานสอบสวน

    ๗. หนังสือรับรองการตาย(ถ้ามี)

 การย้ายที่อยู่ , การแจ้งย้ายออก

ต้องแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับตั้งแต่วันย้ายออก

ก. เจ้าบ้านเอง หลักฐานดังนี้

๑. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

๒. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

๓. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ไปแจ้งแทน

ข. ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านไปแจ้งแทนเจ้าบ้าน หลักฐานดังนี้

๑. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

๒. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

๓. บัตรประจำประชาชนผู้ไปแจ้งแทน

ค. ผู้ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านรับมอบหมายไปแจ้งแทนเจ้าบ้านหลักฐานดังนี้

๑. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

๒. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

๓. หนังสือมอบหมายที่เจ้าบ้านยิยยอมให้ไปดำเนินการแทน

๔. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมาย

 การแจ้งย้ายเข้า

   ต้องแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับตั้งแต่วันย้ายเข้า

ก. เจ้าบ้านเอง หลักฐานดังนี้

๑. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

๒. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

๓. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒

ข. ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านไปแจ้งแทนเจ้าบ้าน หลักฐานดังนี้

๑. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

๒. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

๓. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ (ซึ่งเจ้าบ้านลงชื่อยินยอม รับเข้าไว้แล้วในช่องเจ้าบ้านผู้ยิยยอมให้ย้ายเข้า)

๔. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ไปแจ้งแทน

ค. ผู้ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านรับมอบหมายไปแจ้งแทนเจ้าบ้าน หลักฐานดังนี้

๑. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

๒. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

๓. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ (ซึ่งเจ้าบ้านลงชื่อยินยอม รับเข้าไว้แล้วในช่องเจ้าบ้านผู้ยิยยอมให้ย้ายเข้า)

๔. หนังสือมอบอำนาจที่เจ้าที่บ้านยิยยอมให้ไปดำเนินการแทน

๕. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมาย